วันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2018 เวลา 00:00 น.
เขียนโดย สำนักปลัด01
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรยุคไทยแลนด์ 4.0
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโอ่ง
หากทุกภาคส่วนมีพันธกิจในการนำพาสังคมไทยมุ่งสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ย่อมเลี่ยงไม่พ้นในภาระหน้าที่นี้เช่นกัน บทความนี้จึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาวัฒนธรรมองค์การ ที่สามารถสร้างประสิทธิผลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บรรลุเป้าหมายพร้อมกับริเริ่มนวัตกรรมใหม่ ผ่านการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล โดยนำวัฒนธรรมองค์การ 4 รูปแบบของ Denison คือ วัฒนธรรมเกี่ยวข้อง วัฒนธรรม สอดคล้อง วัฒนธรรมปรับตัว และวัฒนธรรมพันธกิจ และประสิทธิผลองค์การตามตัวแบบ 4 ร คือ ร่วมใจ ระเบียบ ริเริ่ม และรวดเร็ว เป็นกรอบการศึกษา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเผย ให้เห็นว่า วัฒนธรรมพันธกิจและวัฒนธรรมปรับตัว เป็นวัฒนธรรมเด่นที่ส่งผลต่อตัวแบบ ประสิทธิผลด้านรวดเร็วและริเริ่ม โดยเฉพาะวัฒนธรรมปรับตัว จะช่วยเสริมสร้างความ แข็งแกร่งแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างแท้จริง
การปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคไทยแลนด์ 4.0 ถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เกิดการตื่นตัวในรูปแบบของการปรับวัฒนธรรม องค์การ การบริหารงานบุคคล การมีส่วนร่วม ผู้บริหาร และบทบาท ในการจัดการตนเองของท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญ ที่จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถยืนหยัดอยู่ได้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโอ่ง เล็งเห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้หลักการไทยแลนด์ 4.0 ควรใช้แนวทางทั้ง 5 ประการ นำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้
1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องปรับวัฒนธรรมองค์การใหม่ (Cultural Change) เนื่องจากวัฒนธรรมองค์การ มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน การปรับเปลี่ยน ทางวัฒนธรรมจึงเป็นการหล่อหลอมให้พนักงาน มีพฤติกรรม ในการทำงานที่ดีขึ้น ลดภาระทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงควรตระหนักและ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมเพื่อนำไปสู่การวางแผน และการปรับใช้วัฒนธรรมการทำงานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และที่สำคัญสามารถวิเคราะห์ได้ว่าวัฒนธรรม องค์การแบบใดเหมาะสมกับหน่วยงานตนเองมากที่สุด
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องปรับระบบการบริหารงานบุคลากรแนวใหม่ (Personal Administration) หมายถึง หน่วยงานท้องถิ่นต้องส่งเสริมหรือสนับสนุนให้บุคลากรภายในและภายนอกหน่วยงานมีศักยภาพทั้งทางด้าน ความรู้ทักษะ และความสามารถในการดำเนินชีวิตภายใต้การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจแนวใหม่ของไทยแลนด์ 4.0 แนวทางการบริหารงานบุคคลนี้ ควรเสริมสร้างความมีวินัยความรับผิดชอบ หรือสร้างความเป็นพลเมืองที่ดีด้วย เนื่องจากรากฐานของการพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็งต้องเกิดจากท้องถิ่นมีพลเมืองที่มีคุณภาพ มีความสุข มีคุณธรรม มีจิตใจที่เยือกเย็น อารมณ์แจ่มใส มั่นคง ไม่มีความเครียด สุขุม มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น รู้จักประมาณตนมีความพอเพียง เข้าใจสัจธรรมของชีวิต มองโลกในแง่ดี มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง เป็นต้น
3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเน้นการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม (Participations) โดยเปิดโอกาส ให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนในการวางแผน การดำเนินงาน รวมถึงการตรวจสอบการดำเนินโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนสามารถกระทำได้โดยอาศัยการคิด การตัดสินใจสำหรับการแก้ไขปัญหาของตนเองร่วมกับการใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนางาน การที่ประชาชน ภายในพื้นที่มีการรวมกลุ่มในรูปแบบประชาคม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข ปัญหานั้น จำเป็นต้องมีความร่วมมือในการทำพร้อมๆ กัน ในทุกระดับเพื่อเสริมสร้างความเป็นชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง
และเพื่อเป็นสอดคล้องกับบทความข้างต้นดังที่กล่าวมา องค์บริหารส่วนตำบลหนองโอ่ง จึงได้นำคำว่า Planning มาตีความหมายให้เข้ากับการทำงานขององค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และตรงวัตถุประสงค์ เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างที่ตั้งใจไว้ จึงขออธิบายคำจำกัดความเพิ่มเติม ดังนี้
P Plan before work คิดก่อนทำ
L Learn how to be done เรียนรู้วิธีการทำ
A Ask For Full information ถามหาข้อมูล
N Note for action plan เขียนแผนปฏิบัติ
N Name qualified people กำหนดบุคลากร
I Improve to get things done ปรับปรุงแนวทาง ให้ดีขึ้น
N Need participation ใช้ความร่วมมือทุกฝ่าย
G Get things done through other people สร้างให้เกิดความสามัคคี
จัดบทความโดย
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโอ่ง